บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

หมอลำ ประวัติและความเป็นมา

รูปภาพ
  หมอลำ ความเป็นมาของ                 “ลำ” สามารถมองแยกได้ ๒ ลักษณะ คือ การแสดงออกเป็นกิริยา หมายถึงการขับร้อง คือ การนำเอาเรื่องราวในวรรณคดีมาขับร้องเป็น บทกลอนทำนองทีเป็นภาษาอีสาน แสดงออกเป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเรื่องของการขับร้องหรือการแสดงที่เป็นเรื่องราว”หมอลำ” หมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลาย ๆ เรื่อง     วิวัฒนาการของหมอลำ           เดิมสมัยโบราณในภาคอีสานเวลาค่ำเสร็จจากกิจธุรการงานมักจะมาจับกลุ่มพูดคุยกัน กับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อคุยปัญหาสารทุกข์สุกดิบและผู้เฒ่าผู้แก่นิยมเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม ทีแรกนั่งเล่าเมื่อลูกหลานมาฟังกัน มากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่นเรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุกผู้เล่า จึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็นพระเอกนางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสี

คำเป็นคำตายกับวิธีการจำแบบง่ายๆ

             คำเป็นคำตายกับวิธีการจำง่ายๆ ความหมายของคำเป็นคำตาย       เป็นการจำแนกคำตามลักษณะที่ใช้  ระยะเวลาออกเสียงต่างกัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะทำให้คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นรูปเดียวกัน และมีเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกัน นั่นก็คือ       ขั้นตอน การจำแนกตามที่ใช้ ออกเสียงให้ต่างกัน พยัญชนะรูปเดียวกัน เสียงจึงต่างกัน                      คำเป็น (นมยวง)       เช่น จริง กิน กรรม สาว ฉุย ๑. พยัญชนะ + สระเสียงยาว  ในแม่ก กา ๒. คำที่พยัญชนะประสมกับสระ   ำ  ใ  ไ  เ-า ๓. เป็นคำที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่ กง กน กม เกย เกอว       ขั้นตอน : มีสระเสียงยาว มี อำ ไอ ใอ เอา มี กง กน กม เกย เกอว (นมยวง)                     คำตาย (กบฏ)       เช่น สะกด คด  ทรหด แคะ คณิตศาสตร์ ๑. พยัญชนะ + สระเสียงสั้น  ในแม่ก กา ๒. คำที่มีตัวสะกดในแม่ กก กบ กด ๓. คำที่มีเสียงสระลดรูป